วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 4 E-Commerce

chapter 4
E-Commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)


          กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์ก

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

          การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)

การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)

- การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
- การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
- การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
- การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)


โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

          องค์ประกอบหลักสำคัญดา้ นเทคโนโลยีพนื้ ฐาน ที่จะนำมาใช้เพอื่ การพัฒนาระบบพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
          1. ระบบเครือข่าย (Network)
          2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
          3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
          4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)

          ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
          1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
          2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
          3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
          4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
          5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

The Dimensions of E-Commerce


ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)

1. Business-to-Business (B2B)
          การ ค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

2. Business-to-Customer (B2C)
          การค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลง

3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
        เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่ธุรกิจได้ขายช่วงต่อไปยังภาคธุรกิจด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นบริษัทในเครือหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกันแต่ในด้านการส่งมองสินค้า หรือบริการ ก็ยังคงส่งมองไปยังผู้บริโภคโดยตรงในแต่ละราย

4. Customer-to-Customer (C2C)
          การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง

5. Customer-to-Business (C2B)
          เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้าและมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการก็จะนำราคาที่ลูกค้าเสนอมาให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิต พิจารณาว่าสามารถจำหน่ายหรือขายได้ในราคานี้หรือไม่

6. Mobile Commerce
         การค้าออนไลน์ที่กำลังมาแรงในตอนนี้ ช่องทางหนึ่งที่น่าจับตามอง คือ กระแสการเติบโตของการค้าบนมือถือ หรือเรียกว่ากันว่า M-Commerce (Mobile Commerce) จากตัวเลขประชากรที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เปอร์เซ็น รวมทั้งการใช้งาน  3G ที่จะเปิดให้ใช้งานจริงมากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือมีจำนวนมากและราคาถูกลง ก็ยิ่งทำให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์พกพามาก ขึ้น




แบบจำลองทางธุรกิจ

          วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
          วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก

          ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่ AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน), และ Business Online (ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณาหรือค่านายหน้า 

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

          ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ ECommerceอื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus(ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign(ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่
ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ)

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

         ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ),7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers(ดอกไม้), Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี)

ธุรกิจที่รายได้จากโฆษณา

          ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมากเนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง และมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะท่สี ามารถควบคุมต้นทุนได้

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

          ตัวอย่างของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ในกรณีศึกษา ได้แก่ MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ)และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน) บริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ (Buyers.Gov)

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์

         ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และ Priceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์

       ตัวอย่างของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ในกรณีศึกษาได้แก่ PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก) ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขาย (Independent Market Maker)

ธุรกิจท่ใี ช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity

        รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมัก ได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการ
บริหารคลังสินค้า (Inventory)

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกจิ ทั่วไป LOGO กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
          1. สามารถเปดิ ดำเนนิ การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          2. สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
          3. ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
          4. ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
          5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
          6. สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
          7. ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย

          8. ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
          1. ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
          2. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
          3. ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
          4. ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์

          5. การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น