Chapter
3
E-business
strategy
กลยุทธ์ธุรกิจ
กลยุทธ์
การกำหนดทิศทางในอนาคตและการกระทำขององค์กรหรือส่วนหนึ่งขององค์กร
จอห์นสันและสโคลส์ (2006) กำหนดกลยุทธ์องค์กร
: ทิศทางและขอบเขตขององค์กรในช่วงระยะยาวที่ประสบความสำเร็จประโยชน์สำหรับ
องค์กรผ่านการกำหนดค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ภายในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้
เสีย
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกลยุทธ์และกลยุทธ์อื่น ๆ
รูปแบบกระบวนการกลยุทธ์ธุรกิจทั่วไป
1. วิเคราะห์กลยุทธ์
สภาพแวดล้อมภายนอก , สภาพแวดล้อมภายใน
2. วัตถุประสงค์
3. การกำหนดกลลยุทธ์
4. การดำเนินงาน
รูปแบบกลยุทธ์ธุรกิจเคลื่อนที่
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
นักปราชญ์ชาวจีนนาม
ซุนวู
ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
คำกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการ
ธุรกิจ
การที่จะ “รู้เขา” ได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ
“รู้เรา”
ก็คือการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลำดับถัดมานั่นเอง
การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจำ
เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอก
และภายในก่อนการลงสนาม
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. ปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมได้
หมายถึง สภาพแวดล้อมภายในทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการภายในของธุรกิจ เช่น
1. วัตถุประสงค์ของธุรกิจ
2. ทรัพยากรของธุรกิจ
3. การจัดการ
2. ปัจจัยแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้
หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกกิจการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น
1. ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
2. ปัจจัยแวดล้อมทางด้นสังคม
3. ปัจจัยแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฏหมาย
4. ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี
5. ปัจจัยแวดล้อมทางการแข่งขัน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ
S
(Strengths) จุดแข็ง
เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่
จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายใน
ระหว่างผู้บริหารและบุคลากร
หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆเช่นมีสถานภาพทาง
การเงินที่มั่นคงที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิและแหล่งจัดจำหน่ายบุคลากร
มีประสบการณ์และความสามารถสูง
W
(Weaknesses) จุดอ่อน
เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ
อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ
ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร
O
(Opportunities) โอกาส
เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้
แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้
สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ
T
(Threats) อุปสรรค
เป็นปัจจัยภาย
นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้
และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น
รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น
เกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย
TOWS Matrix
กลยุทธ์เชิงรุก
(SO Strategy)
เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี
ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน
เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก
กลยุทธ์เชิงป้องกัน
(ST Strategy)
เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค
ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมา
พิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน
กลยุทธ์เชิงแก้ไข
(WO Strategy)
เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส
ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณา
ร่วมกันเพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข
กลยุทธ์เชิงรับ
(WT Strategy)
เป็นการขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรคได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อม
ที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนำมากำหนดเป็น
ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ
ปัจจัยสภาพแวดล้อม
ปัจจัยทางสังคม
สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก
เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ
ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป
โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคล
และระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของดิน น้ำ แร่ธาตุ
หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์ สึนามิ
(Tsunami)
โรคระบาด
ปัจจัยทางสังคม
การระบาดของโรคจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี
2552 อย่างน้อย 51,000 ล้านบาท หรือมีผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ลดลงอย่างน้อยร้อยละ
0.6 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความโน้มเอียงที่จะไปสู่การหดตัวที่อัตราร้อยละ
4.1 จากกรอบประมาณ การเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.0 ปัจจัยต่างๆ
เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งสิ้น
ปัจจัยทางการเมืองและกฎหมาย
สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบาย
ประกอบธุรกิจของประเทศ
โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ
นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทางการเมือง
เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น
มาตรการส่งเสริมการลงทุนกฎระเบียบที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic)
เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ
ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้อง นำมาศึกษาหลายปัจจัย
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ
(Gross
Domestic Product
: GDP) นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ
เนื่องจากเป็นการชี้นำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด
ซึ่งในปี พ.ศ.2552 นี้ คาดว่า GDP ของ
ประเทศ จะขยายตัวประมาณ 1.2% และในกรณีเลวร้ายอัตราการขยายตัวของ GDP อาจลงไปที่
0.0% คาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนจะขยายตัวในระดับต่ำ อยู่ที่ประมาณ 0.3-0.8% จาก
2.2% ในปี พ.ศ. 2551 (ข่าวสด, 2552)
ปัจจัยทางเทคโนโลยี
สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี
ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าว
หน้าขององค์กรธุรกิจ
เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง
(Software)
เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์
และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน
ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ
มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง
และสวัสดิการต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น