วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 9 E-Government

บทที่ 9 E-Government

ความหมาย e-government
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
     1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

e-government คือ วิธีการบิรหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2B)
     เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรม โดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
     เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดย ความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
     เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนเเปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการ เดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทาง การเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
     เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐกับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต

ตัวอย่างโครงการ
การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
     เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ บนระบบอินเตอร์เน็ตด้วยกิจกรรม
     - การตกลงราคา
     - การประกวดราคา
     - การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ
     - การประมูล

วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (E-Procurement)
     - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดจ้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
     - เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและการเปิดเผยต่อสาธารณะชน
     - เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากที่เดิมที่มักจะจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ค่อนข้างสูง

1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน

2.ระบบ E-Purchasing ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
     - ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก  การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง
     - ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือประมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก



บทที่ 8 E-marketing

บทที่ 8 E-marketing
E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic
Marketing หรือเรียกว่า "การตลาดอิเล็กทรอนิกส์"
     การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่องการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด

วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทำ E-marketing Plan
     - Cost reduction and value chain efficiencies
     - Revenue generation
     - Channel partnership
     - Communications and branding



ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
     1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา
     2. สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
     3. ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
     4. จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
     5. คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
     1. กำหนดเป้าหมาย
     2. ศึกษาคู่แข่ง
     3. สร้างพันธมิตร
     4. ติดตั้งอุปกรณ์จำเป็น
     5. ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์


รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
     1. ขายโฆษณาออนไลน์
     2. ขายสินค้า E-Commerce
     3. ขายบริการหรือสมาชิก
     4. ขายข้อมูล (Content)
     5. การจัดกิจกรรม,งาน
     6. การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
     7. การรับพัฒนาเว็บไซต์


สรุปบทที่ 7 Supply Chain Management

บทที่ 7 Supply Chain Management

Supply Chain Management
Enterprise Resource Planning
Customer Relation Management

การใช้กลยุทธ์เดิมๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดดเด่นและใช้กลยุทธ์ด้าน ราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่กำลังได้รับความสนใจ และให้ความสำคัญกันมากคือ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM)

Supply Chain Management
ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้า หรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน



ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
   เข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
     เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กรโดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
     ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้าย คลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะ แรก

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
     มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
     ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลาย เชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้ เรียบร้อยแล้ว

การบริหารจัดการซัพพลายเชน
     เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องใน ซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับ ปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆ ในซัพพลายเชน
1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
     เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
   เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย
3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
     ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
1. ปัญหารจากการพยากรณ์
     การพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาดและอาจจะ ทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
     ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้
3. ปัญหาด้านคุณภาพ
     อาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
     การส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบล่าช้า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามตารางการผลิตที่กำหนดไว้
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
     สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้
6. ปัญหาจากลูกค้า
     ปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน



เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
     การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภค ที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
     ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงาน ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ
     - เกิดการประหยัดต้นทุน
     - ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ
     - ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน
     - ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น

การใช้บาร์โค้ด (Bar code)
     เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านด้วยเครื่อง scanner ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
     เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง หนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและความเป็นมาตรฐานเดียวกันตาม ที่ได้ตกลงกันไว้

สรุปบทที่ 6 E-CRM : Electronic Customer Relationship Management

Chapter 6 E-CRM : Electronic Customer Relationship Management



Customer relationship management (CRM)  หมาย ถึงเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าเรียนรู้ ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วย สินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด

กระบวนการทำงานของระบบCRM
  • Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
  • Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
  • Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
  • Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
ขั้นตอนการทำงานของ CRM
1. การวิเคราะห์ลูกค้า

  • ศึกษาข้อมูลประวัติลูกค้า
  • การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและมีความละเอียดพอสมควรเก็บไว้ในฐานข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเก็บ
  • จัดแบ่งกลุ่มลูกค้า อาจแบ่งตามพฤติกรรมการซื้อหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์
  • จัดเรียงลำดับลูกค้าตามความสำคัญที่มีต่อบริษัท
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด
          สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบภายใน และ ระบบภายนอก ซึ่งทั้งสองระบบต่างมีความสำคัญต่อองค์กรหากมีจุดบกพร่องหรือเกิดข้อจำกัดขึ้นที่ใดอาจจะทำให้ธุรกิจประสบกับความล้มเหลวได้

3. การแบ่งส่วนตลาด
          ซึ่งสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น 3 ประเภท คือ ลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก และผู้บริโภค

4. การกำหนดตลาดเป้าหมาย           สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท Traders คือ กลุ่มคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย และประเภทConsumers คือ กลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทไม่ควรดึงลูกค้าทุกคนเข้ามาเป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

5.การจัดทำแผนการตลาด

  • การตลาดโดยตรงDirect Marketingได้แก่ โทรศัพท์ (Telemarketing) การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketing)
  • การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เอกสารข่าวแจกในรูปของใบปลิว แผ่นพับ วารสาร การจัดกิจกรรมพิเศษ (Event Marketing)
  • การโฆษณา (Advertising) การเขียนข้อความแบบเป็นกันเองและพิมพ์ส่วนท้ายของโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นคูปองเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดตอบกลับมายังบริษัททั้งนี้เพื่อขอรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม- การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นการสร้างและเพิ่มยอดซื้อของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง 




ประโยชน์ ของ CRM
  • มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้ แก่ Customer Profile
  • Customer Behavior
  • วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
  • ใช้กลยุทธ์ ในการตลาด และการขายได้ อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
  • เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
  • ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้ จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ก่อให้ เกิดภาพพจน์ ที่ดี ต่อองค์กร 
E-CRM หมายถึง 

          กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทาง internet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า

คุณสมบัติที่ดีของ E-CRM
  • ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วและสามารถในการประเมินความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าได้ เพื่อให้การปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด
  •  การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์
  • ระบบ การทำงานที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนซึ่งมีความเที่ยงตรงกว่าการ บริหารโดยคนและยังสามารถแสดงให้เห็นถึงทิศทางและแนวโน้มในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น อัตราการเติบโตของลูกค้า ความจำเป็นที่จะต้องหาพนักงานใหม่และการฝึกฝนทีมงาน
องค์ประกอบของ E-CRM
  • 1.ระบบการจัดการ
  • 2. คน
  • 3.เทคโนโลยี

หน้าที่หลักของ E-CRM
1. การหาลูกค้าใหม่ (Prospecting)
          - การจัดกลุ่มลูกค้า 
          - การเลือกกลุ่มลูกค้าที่จะเป็นเป้าหมาย

          - การโฆษณาตามสื่อต่างๆ
2. การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา (Save or Win Back)
          - ตรวจสอบ ลูกค้าที่มีแนวโน้มการซื้อลดลง, ลูกค้าที่ขาดการติดต่อ
          - กลยุทธ์ วิเคราะห์และเสนอสินค้า และหรือโปรแกรมที่จูงใจ, เสนอกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าเข้าร่วม
3. การสร้างความจงรักภักดี การวัดความจงรักภักดีพิจารณาจาก
          - มูลค่าที่ได้รับจากลูกค้า (Value-based segmentation)
          - ความต้องการของลูกค้า (Need-based segmentation)
          - การสร้างความจงรักภักดีทำได้โดย จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เสนอสิทธิพิเศษ



ปัจจัยที่มีผลต่อ E-CRM
1. ปรับแนวคิดการติดต่อกับลูกค้า
2. เน้นการติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้า
3. ดำรงไว้ซึ่งเป้าหมายการสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้า
4. เรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์
5. ต้องมีข้อมูลของลูกค้าอย่างถูกต้อง ทันสมัยเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของลูกค้า
6. ติดตามกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งขันอย่างทันเหตุการณ์
7. ต้องมีความยืดหยุ่นในกลยุทธ์ ถ้าข้อมูลเปลี่ยนต้องปรับกลยุทธ์ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันที
8. ทำ ERM : Employee Relationship Management คือ สร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกของการทำงาน
เป็นทีม
9. ทำ ERM : Experiment Relationship Management คือ การจัดการกับประสบการณ์ของลูกค้า
10.ทุกฝ่ายในบริษัทต้องมี Marketing Mind


ส่วนประกอบของ E-CRM
1. ระบบการขายอัตโนมัติ ประกอบด้วย
          - ระบบ ขายโดยผ่านโทรศัพท์ ตอบรับ เพื่อให้ บริการแบบ  Proactive 
          - ระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบ Up-Saleing
          - ระบบงานสนามด้านการขาย ได้ แก่ Wireless Application
2. ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย
          - ระบบการให้ บริการในด้านโทรศัพท์ ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR)  ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
          - ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย
          - ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ ต่างๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ
3. Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ  CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมี ที่มาจาก 2 แหล่ง คือ
           - มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์
           - ข้อมูลภายนอกได้ แก่ Web Telephone Directory
ขั้นตอนการทำ E-CRM
1.พัฒนาฐานข้อมูล
2. เลือกเทคโนโลยี
3. เลือกโปรแกรมการตลาด
4. ติดต่อสื่อสาร
5. ประเมินผล
6. ปรับปรุงฐานข้อมูล

สรุปบทที่ 5 E-Marketing

Chapter 5
E-Marketing


e-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing   หรือเรียกว่า "การตลาด อิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งานเข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ พีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเตอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย ขององค์กรอย่างแท้จริง

คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing
เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)

ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business
และ e-Commerce
         E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce  หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
 - การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)

ประโยชน์ของ  e-Marketing
         นักการตลาดชื่อ Smith and Chaffey ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุนการทำการตลาดและก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมองว่า E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ 
กระบวนการในการจัดการทางการตลาดของ  e-Marketing
    -   การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
   -    การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่องจากความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ สายการบินต้นทุนต่ำ easy Jet (http://www.easyjet.com) มีส่วนสนับสนุนทำให้มีรายได้จากการผ่านออนไลน์กว่า 90%
  -    สนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของลูกค้านั้นอาจจะมาจาก การใช้งานง่าย การสนับสนุนการให้บริการแก่ลูกค้า
ประโยชน์ของการนำ e-Marketing มาใช้ 5Ss’ 
นอกจากนี้ Smith and Chaffey ยังได้กล่าวถึง 5Ss’ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ได้แก่


-
1) การขาย (Sell) : ช่วย ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดการจดจำ (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการเราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
2) การบริการ (Serve) : สามารถ สร้างความพึงพอใจและประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ โปรโมชั่น หรือการจัดส่งทั่วประเทศ เป็นต้น
3การพูดคุย (Speak) :สามารถ สร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถสำรวจความคิดเห็น ความต้องการว่าลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษได้
4) ประหยัด (Save): สร้าง ความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม
5) การประกาศ (Sizzle) : การประกาศโปรโมท ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก(Awareness) มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น
จาก 5Ss’ ที่กล่าวมานี้จะพบว่าการทำ Online Marketing ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ประกอบการและเจ้าของสินค้าหลายประการ หากทำได้ดีมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่ออกมาย่อมทำให้ธุรกิจคุณสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำพร้อมฐานลูกค้าอย่างมั่นคงในระยะยาว

e-Marketing Planning

the SOSTAC™ framework developed by Paul Smith (1999) 
ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 
- Situation – where are we now?
Objectives – where do we want to be?
Strategy – how do we get there?
Tactics – how exactly do we get there?
Action – what is our plan?
Control – did we get there?

7 ขั้นตอนสำหรับการทำ e-Marketing

ขั้น 1 กำหนดวัตถุประสงค์ (Set Objective)
การจัดทำเว็บไซต์ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ

- เพื่อสร้างยอดขาย (Sales and Acquisition)
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Image)
ให้บริการและเพื่อสนับสนุนการขาย  (Service and Support)
- การสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก (Brand Awareness)
- การรักษาฐานลูกค้าปัจจุบัน (Customer Retention)
การสร้างความจงรักภักดีในตราสินค้า (Brand Royalty)

ขั้น 2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธี  5W+1H
Who(ใคร) 
         ลูกค้าคือใคร มีอายุประมาณเท่าไร เพศอะไร ระดับการศึกษาเป็นอย่างไร ระดับรายได้หรือฐานเงินเดือนอยู่ที่เท่าใด ประกอบอาชีพอะไร รสนิยมส่วนตัวเป็นอย่างไร ฯลฯ  ข้อมูล เหล่านี้ช่วยให้สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อวางแผนการตลาดหรือ สร้างสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง
What(อะไร) 
      อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ  เพื่อทราบอุปสงค์(demand) และความปรารถนาภายในใจ (willing) ของลูกค้าว่า สินค้าหรือบริการรูปแบบไหนที่ลูกค้าต้องการและอะไรที่จะสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการจากคู่แข่งขันได้ 
Where(ที่ไหน) 
          ลูกค้าอยู่ที่ไหน เป็นคำถามเชิงภูมิศาสตร์เพื่อทราบถึงสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นเช่นไร เพื่อให้ทราบว่าจะหาลูกค้าได้จากไหนบ้าง และที่ไหนคือที่ๆลูกค้ามักจะไปอยู่และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ด้วยวิธีอะไร
When (เมื่อไร) 
          เมื่อไรที่ลูกค้าต้องการเรา เราควรทราบถึงความต้องการว่าในช่วงเวลาไหน ที่ลูกค้าต้องการซื้อหรือใช้บริการ และต้องการบ่อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยให้เรากำหนดและวางแผนการพยากรณ์ต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
Why (ทำไม) 
          ทำไมลูกค้าต้องมาที่เรา เป็นคำถามเชิงเหตุผลว่า เหตุใดลูกค้าถึงได้เข้ามาซื้อสินค้าจากเรา อาจเป็นเงื่อนไขในเรื่องของราคาที่ถูกกว่าคู่แข่ง หรือสินค้ามีคุณภาพมากกว่า ความสะดวกสบาย บริการหลังการขายที่ดีกว่า
How (อย่างไร) 
          เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร เป็นคำถามเชิงวิธีการ หรือหนทางในการรักษาฐานลูกค้าเก่า หรือเพิ่มยอดขายจากลูกค้ารายใหม่ ซึ่งควรจะมีการวางแผนและกำหนดวิธีการที่จะเข้าถึงลูกค้าได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ขั้น 3 วางแผนงบประมาณ มีเงินเท่าไร จะใช้เท่าไร
          เป็นการประเมินถึงจำนวนเงินเพื่อใช้ในการทำงาน ว่ามีเท่าใด ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่เจ้าของธุรกิจต้องทราบ ว่าจะดำเนินธุรกิจให้ได้ตามแผนต้องใช้เงินลงทุนแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดและได้มาจากแหล่งใด หลักในการทำงบฯ มีด้วยกันหลายวิธีเช่น
ทำงบประมาณตามสัดส่วนจากการขาย
- ทำงบประมาณตามสภาพตลาด
- ทำงบประมาณตามวัตถุประสงค์
- ทำงบประมาณตามเงินทุน
ขั้น 4 กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ หาจุดขาย ลูกเล่น
         เป็นการสร้างแนวความคิดที่แปลกใหม่ น่าสนใจให้กับเว็บไซต์ โดยเป็นการสร้างจุดเด่นหรือจุดที่แตกต่างกับเว็บอื่น ๆ ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของเว็บไซต์เรา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้เยี่ยมชมจดจำเว็บไซต์ได้ อาจจะเป็นรูปแบบการบริการที่ไม่เหมือนใคร การใช้ลักษณะการออกแบบเว็บที่โดดเด่น หรือเนื้อหาในเว็บทำให้ผู้อ่านสนใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องยืนอยู่บนเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เราตั้งใจไว้เป็นสำคัญ
ขั้น 5 การวางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา
          เป็นการเลือกสรรวิธีหรือกลยุทธ์ที่ใช้สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ ว่าควรเลือกใช้สื่อรูปแบบใดดี โดยดูที่วัตถุประสงค์เป็นหลัก  เช่น การโฆษณาผ่านหน้าเว็บในรูปแบบต่าง ๆ , การตลาดผ่านระบบค้นหา, การตลาดผ่านอีเมล์ , การตลาดผ่านเว็บบล็อก
         นอกจากนั้นอาจจะมีการผสมผสานด้วยสื่อในรูปแบบ offline หรือสื่อที่ไม่ใช่สื่อออนไลน์ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดร่วมกัน เช่น การโฆษณาบนวิทยุโทรทัศน์  บนสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น โดยนำสื่อหรือกลยุทธ์รูปแบบอื่นไปร่วมในแผนตามความเหมาะสม ควรมีการวางแผน “แผนการใช้สื่อ” เพื่อวางเป้าหมายในการใช้สื่อแต่ละช่วงเวลาได้เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอดทั้งปี 

ขั้น 6 การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้
          เทคนิคการเตรียมตัวก่อนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
1. เช็คว่าพร้อมหรือยัง? ด้วยกลยุทธ์ 6C
2. มีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของเว็บไซด์ เช่น แนวความคิดพื้นฐานของตัวเว็บไซต์ที่โดดเด่น มีความสอดคล้องกับตราสินค้าหรือบริการหลักของธุรกิจ การออกแบบเว็บไซด์ เช่น สีสัน โลโก้ การวางรูปแบบและเนื้อหามีความเป็นเอกลักษณ์
3. การสร้างช่องทางการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เช่น การลงทะเบียนสมาชิก แบบสอบถามออนไลน์ บริการการรับข่าวสารทางอีเมล์ 

ขั้น 7 วัดผลและประเมินผลลัพธ์
           เป็นวิธีการวัดผลความสำเร็จจากการทำแผนการตลาดว่ามีผลลัพธ์เช่นไร การดำเนินการทางการตลาดประสบความสำเร็จตามที่กำหนดมากน้อยเพียงใด โดยประเมินจากการเติบโตของยอดขาย ส่วนแบ่งทางการตลาด ภาพลักษณ์ที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือบริการ กำไร ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจการดำเนินตามแผนธุรกิจต่อไป
          ตัวอย่างเครื่องมือวัดผลเช่น การวัดสถิติการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ สถิติการจัดอันดับบนเครื่องมือค้นหา (Search Engine) 






6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ

1. C ontent  (ข้อมูล)
2. C ommunity (ชุมชน,สังคม) 
3. C ommerce (การค้าขาย)
4. C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
5. C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
6. C onvenience (ความสะดวกสบาย)

C ontent  (ข้อมูล)
- ข้อมูลสดใหม่
- ข้อมูลมีความถูกต้อง
อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล
การจัดการและบริหารข้อมูล (Content Management )
1. เว็บไซต์ที่มีข้อมูลไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย (Static Content)
2. เว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่เสมอ (Dynamic Content)

C ommunity (ชุมชน,สังคม)
Community คือ การรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ที่อยู่ร่วมกันภายใต้สถานๆ หนึ่ง โดยมการพูดคุย หรือกิจกรรมร่วมกันภายในสถานที่แห่งนั้น

องค์ประกอบในการสร้าง Community ในเว็บไซต์ของคุณ
          1. เว็บบอร์ด (Web Board)
          2. พิ๊กโพสต์ (Pic Post)
          3. ไดอารี่ หรือ บล็อก (Diary or Blog)
          4. ข่าว (News) + Web Board
          5. รวมลิงค์ เว็บไซต์
          6. ห้องแช๊ตรูม (Chat Room)

C ommerce (การค้าขาย)

Commerce หรือ การทำการค้าขายผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้ เช่นเว็บข้อมูล (Content), เว็บโปรแกรมมิ่ง, เว็บ Community, หรือ เว็บโป๊  ก็สามารถทำ E-Commerce 



การหาสินค้ามาขายผ่านหน้าเว็บ
1. การซื้อสินค้ามาเก็บไว้
2. การนำสินค้าจากแคตตาล๊อกมาขาย (จับเสือมือเปล่า)
3. การนำสินค้าจากพันธมิตรมาขาย
www.thaisecondhand.com/promotion 

C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)

C - Customization คือ รูปแบบการให้บริการที่สามารถปรับแต่งการใช้งานให้มีความเหมาะสมกับ ผู้ใช้บริการภาย ในเว็บไซต์
- การปรับแต่งข้อมูลเพื่อการบริการ (Service)
 http://my.MSN.com
- การปรับแต่งสินค้าเพื่อการค้า (Commerce)
 www.Nike.com
- การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อการนำเสนอข้อมูล (Information) www.Amazon.com 
C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)

Communication คือ ช่องทางในการสื่อสารและติดต่อกับผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ของคุณ  จริงๆ แล้วสิ่งที่คุณมีอยู่ในเว็บไซต์คุณคือ ข้อมูล (Content) หรือ บริการ (Service) ซึ่งเป็นเพียงแค่ “ช่องทาง” ในการ “เข้าถึง” ข้อมูลหรือบริการเหล่านั้น

C onvenience (สะดวกสบาย)

การใช้งานง่าย (Usability)
1.  "ดู" ง่าย
- การวางรูปแบบ (Layout)
- รูปภาพ และไอค่อน ( Image & Icon)
- ขนาดตัวอักษร (Font) และการจัดหน้า
- การออกแบบระบบนำทางที่ดี (Navigation) 
- มี  Site map ในเว็บ
2. "เรียนรู้" ได้ง่าย (easy to learn)
3. "จดจำ" วิธีการใช้งานได้ง่าย
4. "เข้าถึง" ได้ง่าย
5. ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (efficient to use)
6. การเจอปัญหาและการแก้ไข (Help & FAQ)